โรคแมลงศัตรูเห็ดฟางและการป้องกัน


       การปลุกเห็ดฟางอาจจะใช้เวลาที่สั้น แต่ก็ยังมีศัตรูหลายชนิดที่มักเกิดบนกองเพาะเห็ดฟาง คอยทำลายและรบกวนการเจริญเติบโต เข่น

           1. มดหรือปลวก มดอาจเข้าไปทำรังหรือทำลายเชื้อเห็ด การป้องกันคือ ควรใช้น้ำยา       เอ็พต้าคลอร์ หรือคลอเดน หยดใส่ปากรัง มดจะตายหรือย้ายรังไป ส่วนปลวกจะเข้ามากินเห็ดหรือฟางข้าว ให้ใช้สารหนูเขียวโรยหรือใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับผงซักฟอกหรือยาฆ่าแมลง โดยบนพื้นดิน
          2. ไส้เดือนฝอย มีอยู่ทั่วไปทุกแห่ง ทั้งในน้ำ ดิน รวมทั้งในรากพืช โดยเฉพาะกองเห็ดฟางที่มีความชื้น ทำให้ไส้เดือนฝอยมีอาหารดำรงชีวิต การป้องกัน คือ การเผาเพื่อทำลายศัตรูพืชต่างๆ ในกองเห็ดฟาง ไม่ควรทิ้งวัสดุที่หมักหมมตามบริเวณใกล้เคียงกับกองเพาะปลูกเห็ดฟาง เพาระอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ไส้เดือนฝอยขยายพันธุ์ได้ง่าย
          3. ไรและเชื้อรา มีอยู่ตามพื้นที่ดินทั่วไป มักกัดกินเส้นใยเห็ดเป็นอาหาร ถ้าเพาะปลูกซ้ำที่เดิมหรือเอาแผงไปใช้โดยไม่ตากแดดหรือไม่มีการพ่นยาฆ่าก่อน จะทำให้ระบาดอย่างรุนแรง ควรกำจัดเชื้อราและไรที่ตกค้างก่อนนำไปใช้งานอีก และพื้นที่ดินที่ใช้ซ้ำที่เดิมควรขุดกลับดินให้แห้งเสียก่อน
          4. วัชเห็ด คือ เห็ดหมึก หรือเห็ดขี้ม้า เกิดขึ้นเพราะในกองฟางนั้นร้อนเกินไป เช่น คลุมผ้าพลาสติกอยู่กลางแดดจนร้อนจัดมาก เห็ดด้าน หรือราเมล็ดผักกาด เกิดขึ้นเพราะกองฟางเปียกเกินไป หรือมีโรคนี้ติดมากับฟางก่อนเพาะปลูก


ภาพที่ 12 เห็ดหมึก
(ที่มา : https://goo.gl/nEZP9y)

5. โรค ราเขียว โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา 3 ชนิด เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะมีความชื้น เชื้อราจะเริ่มเจริญขึ้นที่ดินและเจริญต่อไปถึงขี้ฝ้ายและฟางข้าว ราเขียวเป็นราประเภทสร้างสปอร์มากและมีขนาดเล็กปลิวได้ในอากาศ เชื้อราเขียวเหล่านี้เป็นเชื้อราแข่งขันหรือราคู่ของเชื้อเห็ดฟาง โรคนี้จะทำให้เห็ดฟางเจริญไม่ทัน นอกจากนี้โรคราเขียวยังทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ด้วย เส้นใยของราเขียวขณะอ่อนมีสีขาว ค่อนข้างบาง เมื่ออายุ 3 วันขึ้นไปแล้วเชื้อราจะเริ่มสร้างสปอร์ ซึ่งมีสีเขียวทำให้เกิดระบาดได้ราเขียว 3 ชนิด ดังกล่าว คือ ราเขียว มีสีเขียวอ่อนและ / หรือเขียวเข้ม ราเขียว มีสีเขียวอมเทา
6. โรค ราขาวนวล เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้มีลักษณะสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ๆ สามารถพบโรคนี้ได้ตั้งแต่วันแรกของการเพาะเห็ด เชื้อรานี้มักจะเกิดบนวัสดุเพาะและเจริญแผ่ขยายติดต่อกันเป็นปื้นใหญ่ ทำให้มองเห็นเป็นก้อน ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วกว่าชนิดอื่น ทำให้บริเวณที่มีเชื้อรานี้ไม่มีเชื้อเห็ดฟางขึ้นเลย ถ้ามีตุ่มดอกเกิดขึ้นเชื้อราชนิดนี้มักเจริญปกคลุมดอกเห็ดเล็ก ๆ หรือทำให้ดอกเห็ดกลุ่มนั้นมีลักษณะผิดปกติหรือดอกเห็ดไม่เจริญต่อไป
7. โรค ราขาวฟู เชื้อรานี้เส้นใยมีลักษณะขาวจัดและฟู มักพบโรคราขาวฟูบนหลังกองเพาะ ตั้งแต่วันแรกหรือวันที่ 2 ของการเพาะเห็ด เมื่อราชนิดนี้อายุมากขึ้นจะมีสีเทา เชื้อรานี้เกิดเร็ว โรคนี้ถ้าเกิดแล้วเชื้อราจะไปปกคลุมดอกเห็ดทำให้ดอกเห็ดฝ่อ
          ดังนั้น ถ้ามีโรคเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแยกออกจากกองเพาะปลูกและทำการเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค(บุญส่ง วงศ์เกรียงไกร, 2543, หน้า91-96)


ภาพที่ 13 เชื้อราที่เกิดกับเห็ดฟาง
(ที่มา : https://goo.gl/RcKmJo)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะของเห็ดฟาง

สายพันธุ์เห็ดฟาง