การเพาะปลูกเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรมหรือแบบโรงเรือน
เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแบบใหม่เข้ามาช่วยในทุกๆ
ขั้นตอนของการเจริญเติบโตจนกระทั่งเกิดดอกเห็ดและการเก็บเกี่ยว
การสร้างโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดฟาง เป็นโรงเรียนที่ถาวร
ลักษณะของโรงเรือนควรเป็นแบบปิดมิดชิดที่สามารถอบไอน้ำฆ่าเชื้อเก็บอุณหภูมิและความชื้นไว้ได้
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาจจะเป็นคอนกรีต อิฐบล็อก กระเบื้องเรียบ
หรือไม้ไผ่ที่บุด้วยผ้าพลาสติกหนาให้สามารถเก็บความชื้นได้
แต่ทางที่ดีควรเป็นลักษณะที่ก่อด้วยอิฐบล็อกแล้วฉาบด้วยปูน
เพราะจะเก็บอุณหภูมิและความชื้นได้เป็นอย่างดี และมีอายุใช้งานที่นานกว่า
อุปกรณ์ที่สำคัญ หลังจากสร้างโรงเรือนเรียบร้อยแล้ว
ต่อไปจึงเป็นขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ในการเพาะปลูก
1. ชั้นสำหรับเพาะปลูกเห็ด
เป็นที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกเห็ดในโรงเรือน ทำจากเหล็กหรือไม้ไผ่
แต่เหล็กจะได้ผลที่ดีกว่า เพราะจะไม่มีการสะสมเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อเห็ด
2. พัดลมเป่าและดูดอากาศ
ใช้เพื่อระบายอากาศภายในโรงเรือน ควรใช้พัดลมที่สามารถเป่าและดูดอากาศได้
3. เครื่องกำเนิดไอน้ำ
ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะให้ไอน้ำสำหรับทำความร้อนภายในโรงเรียนมีอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง และ 50 องศาเซลเซียส อีกอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพราะอุณหภูมิ
ความชื้นและอากาศเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง
ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการที่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้
4. เทอร์โมมิเตอร์
เป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดอุณหภูมิภายโรงเรือน
ควรใช้ชนิดที่มีวัดเป็นองศาเซลเซียส
โดยติดกับผนังด้านในโรงเรือนให้สูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร
5. กระบะไม้หรือแบบไม้สำหรับหมักวัสดุเพาะ
ทำเป็นกระบะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความกว้างและความยาวเท่าๆ กันประมาณ 1-5 เมตร ความสูง 50 เซนติเมตร
6. เครื่องตีปุ๋ยหมัก
ใช้สำหรับตีปุ๋ยหลังจากที่หมักแล้ว
เครื่องตีปุ๋ยหมักจะทำให้ปุ๋ยมีความละเอียดและฟูมากขึ้น
7. อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่
หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เครื่องพ่นน้ำฝอย เครื่องวัดความชื้น จอบ พลั่ว เป็นต้น(ยุทธนา
ธีระวงศ์กังวาน, 2551, หน้า 76-81)
ขั้นตอนการเพาะปลูกเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรมหรือแบบโรงเรือน
1. การหมักวัสดุที่ใช้เพาะปลูก
เช่น ฟางข้าว ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น
2. การตีปุ๋ยหมักและให้อาหารเสริม
3. การนำวัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางขึ้นชั้นเพาะเห็ด
4. การเลี้ยงเชื้ออาหารเห็ด
5. การอบไอน้ำ ฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ด
6. การจัดเตรียมเชื้อเห็ดฟางและการโรยเชื้อเห็ดฟาง
7. การปรับอุณหภูมิและสภาพอากาศภายในโรงเรือน
8. การดูแลการพัฒนาของดอกเห็ดและการเก็บผลผลิต
9. การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะครั้งต่อไป(ที่มา : https://goo.gl/JmLRy3)
ภาพที่ 11 โรงเรือนเพาะเห็ดฟาง
(ที่มา : https://goo.gl/XkkYc3)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น